ซาอุดีอาระเบีย

ตอนนี้มี แม่ชาวอเมริกัน ผู้หนึ่งไม่สามารถ พาตัวลูกสาว ออกจากประเทศซาอุดีอาระเบียได้

และไม่ใช่เพียงเคสของหญิงชาวมะกัน รายนี้เพียงรายเดียว แต่ยังมีมีบรรดาแม่หลายคนจาก สหราชอาณาจักร แคนาดา และหลายๆ ชาติตะวันตก ที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน และกำลังพยายามต่อสู้ เพื่อที่จะให้ลูกๆ ของพวกเธอ ออกจากประเทศซาอุได้ หลังจากที่พวกเธอ ได้หย่าร้างกับสามี ชาวซาอุดีอาระเบีย โดยกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ทางรัฐบาลของแต่ล่ะประเทศ ไม่มีใครยื่นมือเข้ามาช่วยพวกเธอ เรื่องนี้เลย

โดยในตอนแรกนั้น คาร์ลี มอร์ริส หญิงสาวชาวอเมริกัน และทาลา ลูกสาววัย 5 ขวบ ได้เดินทางไปที่ ซาอุดีอาระเบีย และทุกอย่างดูจะดำเนินไปด้วยดี ซึ่งก่อนหน้านี้นั้น คาร์ลี ได้ทำการหย่า กับสามีของเธอ ผู้เป็นชาวซาอุดีอาระเบียไปแล้ว โดยสามีเก่าของเธอ ได้ทำการชักชวน เธอและลูกสาว มายังประเทศซาอุดีอาระเบีย ในช่วงระยะ เวลาสั้นๆ เพื่อจะได้พบหน้า ของปู่และย่าเป็นครั้งแรก

แต่ทริปสั้นๆ กลับกลายเป็นฝันร้ายเมื่อเธอพบว่าห้องโรงแรมที่อดีตสามีจองไว้ให้เธอและลูกสาวไม่มีทั้งหน้าต่าง หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสัญญาณมือถือ คาร์ลี เล่าว่า หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น อดีตสามีขอหนังสือเดินทางและสูติบัตรของเธอไป โดยบอกว่าจะไปทำเรื่องวีซ่าให้ลูกสาวแต่จริง ๆ แล้วคือเขาไปทำเรื่องเปลี่ยนสัญชาติลูกสาวให้เป็นชาวซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบียไม่อนุญาต ให้คนถือสองสัญชาติได้

ดังนั้น ทาลา ซึ่งทั้งเกิดและโตในสหรัฐฯ จึงได้กลายเป็นชาวซาอุดีอาระเบียอย่างเดียว นั่นหมายความตามระบบผู้ปกครองที่ให้ชายเป็นใหญ่ของประเทศ ลูกสาวเธอไม่สามารถออกจากประเทศได้หากพ่อไม่เซ็นยินยอม คาร์ลีเล่าว่า ในแต่ละวันหลังจากนั้น สามีเริ่มมารับลูกสาวไปแต่เช้า และพากลับมาช่วงค่ำ ส่วนเธอถูกทิ้งให้อยู่ในห้องโรงแรม

ด้วยความที่ไม่ค่อยมีเงิน เธอก็ต้องทานข้าวกล่องที่อดีตสามีทิ้งไว้ให้ ในที่สุด หลังจากร้องขอให้สามียอมให้เธอพาลูกกลับสหรัฐฯ แต่ไม่สำเร็จ คาร์ลีตัดสินใจเขียนไปหาสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐฯ และคนอื่น ๆ ที่เธอหวังว่าจะช่วยได้ คาร์ลีเล่าว่า นี่ทำให้อดีตสามีเธอโกรธ และ “ลักพาตัว” ลูกสาวไปถึง 2 เดือน

“อดีตสามีและครอบครัวเขาทำแม้กระทั่งหนีออกจากบ้าน โดยระหว่างนั้นก็ยื่นเรื่องขอให้ศาลให้สิทธิ์เขาในการเลี้ยงดูลูกสาว” ต่อมาเธอเขียนไปหาทำเนียบขาวเพราะหวังว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะช่วยได้ ระหว่างการเดินทางมาที่กรุงริยาดในเดือน ก.ค. แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ผล ระหว่างนี้ เดนิส ไวท์ แม่ของคาร์ลีเป็นห่วงลูกสาวและหลานสาวมากขึ้นเรื่อยๆ

เธอเชื่อว่าอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียทำให้นักการทูตอเมริกันไม่กล้าจะทำอะไร ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกรายหนึ่ง และยิ่งมีอำนาจต่อรองมากกว่าเดิมอีกขณะที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตพลังงานในปัจจุบัน เดนิส บอกว่าเป็นห่วงเรื่องการศึกษาของหลานสาวเพราะเธอไม่ได้ไปโรงเรียนมา 3 ปีแล้ว

ด้านคาร์ลีเป็นห่วงว่ากระบวนการฟ้องศาลขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดูลูกจะยิ่งทำให้ลูกได้รับผลกระทบด้านจิตใจ ข้อมูลจากมูลนิธิสิทธิมนุษยชน (Human Rights Foundation) ในสหรัฐฯ ชี้ว่า คาร์ลีเป็นหนึ่งในแม่ชาวอเมริกันเกือบ 50 คนที่กำลังต่อสู้เพื่อพาลูกออกจากซาอุดีอาระเบียหลังจากไปแต่งงานกับชาวซาอุดีอาระเบีย

นอกจากนี้ ยังมีแม่อีกหลายคนจากแคนาดา สหราชอาณาจักร และชาติตะวันตกอื่นๆ ด้วย เบธานี อัลไฮดารี ทำงานให้กับมูลนิธินี้ เธอเองก็มีประสบการณ์ตรงในการต่อสู้นาน 2 ปีในการพยายามพาลูกสาวออกจากซาอุดีอาระเบีย เธอบอกว่า ในปีที่ผ่านมา ไม่สามารถช่วยใครได้สำเร็จเลย เธอบอกว่าหลายคนไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลตัวเองเลย

เบธานีบอกว่า รัฐบาลประเทศต่างๆ รวมถึงรัฐบาลสหรัฐฯ มักมีท่าทีประมาณว่า “คุณทำตัวเอง คุณน่าจะรู้ดีกว่านี้” สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงริยาด บอกบีบีซีว่า ให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพชาวอเมริกันสูงสุด และทางสถานเอกอัครราชทูตได้ติดต่อกับคาร์ลีและรัฐบาลซาอุดีอาระเบียอยู่เป็นประจำ หลังจากฟ้องร้องกันยาวนาน ในที่สุด

คาร์ลีก็ได้สิทธิ์ในการเลี้ยงดูลูกสาว แต่ได้รับแจ้งว่าห้ามเดินทางออกไปจากเมืองที่อาศัยอยู่ ด้วยความที่ไม่มีเงิน คาร์ลีบอกว่าเธอกลายเป็นเหมือนนักโทษอยู่ในห้อง “ถึงตอนนั้น ฉันไม่ได้ออกไปข้างนอกเลย 2 ปี ฉันนั่งอยู่ในโรงแรมนี้ทุกวัน ไม่มีใครได้เห็นหน้าฉัน ไม่มีใครมาเคาะประตูห้องฉันเลยสักคน” ตั้งแต่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้

ทางการซาอุดีอาระเบียกล่าวหาว่าเธอกำลัง “ทำลายความสงบเรียบร้อย” โดยอัยการพยายามดำเนินการให้เธอโดนลงโทษด้วยการจำคุก นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องที่เธอกำลังรู้สึกกังวลมาก เธอเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่ก่อนจะเจอกับสามี และบอกว่าเธอก็ยังนับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดเรื่อยมา อย่างไรก็ดี หลังจากเธอชนะคดี ได้สิทธิ์ในการเลี้ยงดูลูกสาว

พ่อของอดีตสามีออกมากล่าวหาว่าเธอเลิกนับถือศาสนาและก็กำลังดูเหยียดหยามทั้งชาวมุสลิมและประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากไม่สามารถพาลูกกลับสหรัฐฯ ได้แล้ว ตอนนี้เธออาจโดนตัดสินประหารชีวิตด้วย “มีคนเตือนฉันแล้ว หลายคนบอกฉันว่าอย่ามาประเทศนี้ ถ้าคุณเข้าไป คุณจะไม่มีวันได้ลูกสาวกลับคืนมา แต่ฉันไม่ได้ฟังคำเตือน” คาร์ลี กล่าว “และ 3 ปีให้หลัง ฉันก็กำลังตกอยู่ในสถานการณ์นี้”

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : datamicra.com