แพนิก

โรค แพนิก คือ ภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล หรือความกลัว ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเหมือนโดนจู่โจมทั้งที่ไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อันตรายใดๆ ซึ่งอาการรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-10 นาที เกิดขึ้นเป็นพักๆ อาจนานถึงหนึ่งชั่วโมง โดยมักเกิดขึ้นร่วมกันอาการต่างๆ

ทางการแพทย์ได้อธิบายเกี่ยวกับโรค แพนิก ว่าเป็นภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ไม่มีสามารถอธิบายเหตุผลได้ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

แพนิก

อาการที่พบได้บ่อยของโรคแพนิก

– ใจเต้นเร็ว สั่นเหมือนตีกลอง

– เจ็บบริเวณหน้าอก

– หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม

– รู้สึกมึนงง โคลงคลง เป็นลม

– รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายมือ ปลายเท้า

– ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น

– เหงื่อแตก

– อ่อนเพลีย

– คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง

– ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป

– ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวเกิดขึ้นกับตัวเองและเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงอาการบางอย่างที่น่าอายออากไป

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแพนิค

โรคแพนิคคือโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง เพราะกลัวว่าจะเกิดอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงอีกครั้ง เช่น หากเคยมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงในลิฟต์ หรือเคยเกิดอุบัติเหตุในลิฟต์มาก่อน ก็อาจทำให้มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ และเกิดอาการกลัวลิฟต์เกิดขึ้นในภายหลัง

อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยง

– กาแฟ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหลาย การได้รับคาเฟอีนอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคมีอาการกำเริบขึ้นได้

– แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือ ความวิตกกังวล กระสับกระส่าย และนอนไม่หลับมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก

– ลูกอมขนมหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียหลังจากรับประทานได้ เนื่องจากของหวานจะไปเพิ่มน้ำตาลในเลือด ร่างกายจึงต้องปล่อยอินซูลินออกมา เพื่อปรับระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นภาวะน้ำตาลต่ำจนทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและกระตุ้นให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงในที่สุด

– อาหารแปรรูปและครีมเทียม เช่น ไส้กรอก เค้ก อาหารทอด และอาหารมันๆ ทั้งหลาย ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้เช่นกัน

การรักษาโรคแพนิค

1.การรักษาด้วยจิตบำบัด

วิธีนี้ช่วยรักษาอาการแพนิคและโรคแพนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ป่วยจะเข้าใจอาการแพนิคและโรคแพนิคมากขึ้น รวมทั้งเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับอาการป่วยของตนเอง วิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรคแพนิคคือการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าอาการแพนิคที่เกิดขึ้นไม่ได้อันตรายแต่อย่างใด

2.การรักษาด้วยยา

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและความบกพร่องเกี่ยวกับสารสื่อประสาทในสมอง ผู้ป่วยจึงต้องอาศัยการรักษาด้วยยาเพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เป็นปกติ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบขึ้นมาได้

วิธีการดูแลตนเอง หากเกิดอาการแพนิกเบื้องต้น

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงเซื่องซึมระหว่างวัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน งดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สารกาเฟอีน และเครื่องดื่มชูกำลังเพราะกระตุ้นให้เกิดอาการใจหวิวและใจสั่น

ที่มา

thainakarin.co.th

manarom.com

lovecarestation.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ datamicra.com